1) Rough terrain crane เป็นเครนแบบ4ล้อ
- การใช้งาน คือ สามารถปรับล้อได้ทำให้ซอกแซกเข้าในที่แคบๆได้ดี ห้องบังคับเครนมีห้องเดียว ทำให้สะดวกในการทำงาน เหมาะสำหรับการทำงานแบบระยะยาวในพื้นที่เดียวกัน
- ข้อจำกัด คือ วิ่งไกลไม่ได้ ไม่ควรวิ่งไกลเกิน 10 กิโลเมตร เพราะจะทำให้ชุดเกียร์พังการวิ่งขึ้นเขา ลงเขาบ่อยๆ จะทำให้ชุดเกียร์สึกหรอเร็ว เวลาเกียร์พัง มีต้นทุนในการซ่อมไม่ต่ำกว่าแสนบาท
2) Truck cranes เป็นเครน12ล้อ หรือรถยาว
- การใช้งาน คือ ระบบไม่ซับซ้อนและสามารถวิ่งไปทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยรถเทรลเลอร์หาง low-bed ขนส่ง
- ข้อจำกัด คือ จะมีห้องขับรถ 1 ห้อง ห้องบังคับเครน อีก 1 ห้อง ทำให้ใช้เวลาในการทำงานมากกว่าแบบ 4 ล้อ เหมาะกับการทำงานแบบครั้งคราว หรืองานแบบเฉพาะกิจ อีกทั้งถ้านำเข้าจากญี่ปุ่น มักจะหาซื้ออะไหล่ซ้อมยาก
ก่อนที่จะหาจุดประสงค์ของการซื้อรถเครน อาจจะต้องดูปัจจัยอื่นๆ เช่น ความพร้อมในการซ่อมบำรุงเครน การใช้งานเครน การคำนวณกราฟการทำงาน เงินทุนที่มี การผ่อนชำระเงิน ความยืดหยุ่นในการขายต่อ ความถนัด การพัฒนาของเครนที่เปลี่ยนแปลงไปทุกปี และอื่นๆอีกมากมาย คิดจุดประสงค์ที่แท้จริงให้ออก แล้วคิดต่อได้ง่าย ว่าจะซื้อรถเครนแบบไหนดี สำหรับคนที่กำลังหาซื้อรถเครนมาใช้ในต้องรู้จักข้อดีและข้อเสียของเครน และต้องเลือกเครนให้ตรงกับลักษณะงานที่ทำอยู่ ให้ตรงกับจุดประสงค์ และให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงาน