สินค้าเครื่องจักรนำเข้า 

ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักรก่อสร้าง

  • การก่อสร้างในปัจจุบันนี้ ทั้งถนน อาคาร หรือระบบน้ำ ได้นำเครื่องทุนแรง หรือเครื่องจักรกลต่าง ๆ เข้ามาใช้ในการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก และสามารถเคลื่อนที่ได้ จึงอาจเรียกร่วม ๆ ได้ว่า รถก่อสร้างหรือ รถที่ใช้ก่อสร้าง เครื่องจักรก่อสร้าง (เครน, รถตัก, รถขุด, รถบด, รถปูยาง, รถดัน, รถโฟล์คลิฟท์) นับวันยิ่งมีบทบาทมากขึ้นในงานรับเหมาก่อสร้าง เพราะต้องการได้งานมาตรฐาน และคุณภาพตรงตามข้อกำหนดการก่อสร้าง เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดเวลาการทำงาน การก่อสร้างให้เสร็จทันตามเวลากำหนด
  • เพื่อสนองตอบความต้องการดังกล่าว โรงงานผู้ผลิตเครื่องจักรกลได้ผลิตเครื่องจักรกลออกมามากมายหลายประเภท หลายชนิด และหลายขนาด บางชนิดสามารถทำงานได้หลายอย่างบางชนิดก็ทำงานได้อย่างเดียว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เครื่องจักรกลประเภทต่าง ๆ เพื่อทีจะสามารถเลือกเครื่องจักรกลประเภท ชนิด และขนาดให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง และการผลิต ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นผลให้การก่อสร้าง และการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด
ความรู้เครื่องจักร

ประเภทของเครื่องจักรก่อสร้าง

1. รถเครน (Crane)
2. รถตัก รถตักล้อยาง (Wheel loader)
3. รถขุด รถขุดดิน หรือ แม็คโคร แบคโฮ (Excavator)
4. รถบด รถบดถนน (Roller)
5. รถปูยาง (Asphalt Finisher)
6. รถดัน (Bulldozer)
7. รถโฟล์คลิฟท์ หรือ รถยก (Forklift)

** ประเภทเครื่องจักรกล มีหลายประเภท หลายชนิด และหลายขนาด บางชนิดสามารถทำงานได้หลายอย่าง บางชนิดก็ทำงานได้อย่างเดียว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ เครื่องจักรกลประเภทต่างๆ เพื่อที่จะสามารถเลือกเครื่องจักรกลประเภท ชนิด และขนาดให้เหมาะสมกับงานก่อสร้าง และการผลิต ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่เป็นผลให้การก่อสร้าง และการผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุด

ประโยชน์ของเครื่องจักรก่อสร้าง

1. ประสิทธิภาพการทำงาน บางอย่างสูงกว่าการใช้งานแรงงาน และเครื่องจักรกลบางชนิดสามารถใช้แทนแรงงานได้หลายคน เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดเวลาการก่อสร้าง

2. การก่อสร้างบางอย่าง ต้องการการก่อสร้างให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น การบดอัด การตัดเกรด เป็นต้นซึ่งแรงงานไม่สามารถทำได้มาตราฐานเท่ากับเครื่องจักรกล และงานก่อสร้างบางประเภทไม่สามารถ ใช้แรงงานได้ ต้องใช้เครื่องจักรกลเท่านั้น

3. ลดปัญหาที่เกิดขึ้นของการใช้แรงงานก่อสร้าง เช่น ที่อยู่อาศัย อุบัติเหตุ ข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้แรงงานด้วยกันเอง

** ดังนั้น การใช้เครื่องจักรกล จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ควบคุมงาน หรือวิศวกรโครงการ (Project Engineer) ว่าควรจะใช้เครื่องจักรกลชนิดไหน กับงานในรูปแบบใด หรือจะนำไปใช้กับงานในภูมิประเทศอย่างไร ซึ่งเครื่องจักรแต่ละชนิด แต่ละแบบนั้นย่อมมีความเหมาะสม กับงานแต่ละลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันไป

ประเภทของงานก่อสร้าง

  • งานก่อสร้างก็คือการดำเนินงานเพื่อสร้างสิ่งของซึ่งค่อนข้างถาวรขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการ และอำนวยความสะดวกแก่มนุษย์ งานก่อสร้างสามารถแบ่งตามลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็น
    1. งานก่อสร้างบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัย
    2. งานก่อสร้างด้านพัฒนาอุตสาหกรรม ได้แก่ โรงงาน และโรงเก็บของ
    3. งานก่อสร้างถนน สะพาน และอุโมงค์
    4. งานก่อสร้างอาคารสาธารณะ เช่น โรงแรม สถานที่ทำางน โรงเรียน และโรงพยาบาล
    5. งานก่อสร้างโครงการด้านพลังงาน เช่น โรงจักรไฟฟ้า เขื่อนเก็บกักน้ำเพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้า และแท่นขุดเจาะน้ำมัน
    6. งานก่อสร้างระบบชลประทาน รวมถึงเขื่อนเก็บกันน้ำ อาคารชลประทาน และคลองส่งน้ำ เป็นต้น
    7. งานก่อสร้างด้านปรับปรุงที่ดิน งานเหมือง และงานเกษตรกรรม
    8. งานก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และทางรถไฟ
    9. งานก่อสร้างประเภทอื่น ๆ ที่ไม่รวมอยู่ในประเภทต่าง ๆ ข้างต้น

ขั้นตอนของงานก่อสร้าง

  • งานก่อสร้างประเภทต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น โดยทั่วไปจะประกอบด้วยงานหลายลักษณะ และจะต้องทำเป็นขั้นตอน เช่น งานก่อสร้างถนนก็จะประกอบด้วยงาน และขั้นตอนดังนี้ คือ
    1. เคลื่อนย้ายเครื่องจักรไปที่หัวงาน และสร้างค่ายหัวงาน
    2. งานบุกเบิก และถางแนวทาง
    3. งานสร้างทีระบายน้ำ
    4. งานดินตัด ดินถม และงานบดอัด
    5. งานผิวจราจร
    6. งานเบ็ดเตล็ด และรื้อถอนค่ายหัวงาน

  • สำหรับงานก่อสร้างระบบประปาซึ่งใช้น้ำผิวดิน อาจจะประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้คือ
    1. งานบุกเบิก และถางบริเวณอ่างเก็บน้ำ
    2. งานก่อสร้างเชื่อนกักเก็บ และอาคารควบคุมต่าง ๆ
    3. งานก่อสร้างโรงสูบ
    4. งานก่อสร้างระบบส่งน้ำดิบ
    5. งานก่อสร้างโรงกรอง
    6. งานก่อสร้างระบบจ่ายน้ำ

ปัจจัยในการวางแผนงานก่อสร้าง

  • งานก่อสร้างก็เช่นเดียวกับงานอื่น ๆ ที่จะต้องมีการวางแผนงาน ในการวางแผนงานก่อสร้างจะต้องกำหนดปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ก่อน
    1. ระยะเวลาในการส่งวัสดุต่าง ๆ
    2. ชนิด จำนวนเครื่องจักรกลที่ต้องการ และระยะเวลาที่ต้องการใช้งาน
    3. ประเภทของช่าง คน ที่ต้องการ และระยะเวลาทีต้องการใช้งาน
    4. เงินทุนที่ต้องการใช้งานในช่วงเวลาต่าง ๆ
    5. ระยะเวลาที่ต้องการให้งานแล้วเสร็จ

แผนงานก่อสร้าง

  • เมื่อกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ในการวางแผนงานก่อสร้างแล้ว ก็สามารถที่จะจัดทำแผนงานก่อสร้างได้ แผนงานก่อสร้างก็คือ กำหนดการดำเนินงานก่อสร้างแต่ละงาน และแต่ละขั้นตอน ซึ่งนิยมจัดทำเป็นแผนภูมิแบบแท่ง โดยจะแสดงถึงปริมาณงานของแต่ละงาน หน่วยของงานแต่ละงานอัตราในการทำงานแต่ละงาน และประมาณวันที่เริ่มต้น และวันที่แล้วเสร็จ นอกจากนี้ยังรวมเอาผลการปฏิบัติงานจริงเข้าไว้ในแผนภูมิแบบแท่งนี้ด้วย เพื่อที่จะแสดงถึงสถานการณ์ของโครงการก่อสร้างว่างานแต่ละงานนั้นแล้วเสร็จตามกำหนด แล้วเสร็จก่อนกำหนด หรือล่าช้ากว่ากำหนดซึ่งหากว่างานแต่ละงานนั้นแล้วเสร็จตามกำหนด แล้วเสร็จก่อนกำหนด หรือล่าช้ากว่ากำหนดซึ่งหากว่างานล่าช้ากว่ากำหนดก็สามารถที่จะพิจารณาหาทางแก้ไขได้ทันที

  • การจัดทำกำหนดการก่อสร้างนี้ จะต้องแบ่งโครงการก่อสร้างออกเป็นลักษณะต่าง ๆ คิดปริมาณงานของแต่ละงานย่อย คิดอัตราทำงานของแต่ละงาน โดยคำนึงถึงวิธีการที่ประหยัดที่สุดทั้งในแง่ของคนทำงาน และเครื่องจักรกล นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นด้วย ได้แก่ ระยะเวลาที่ต้องการให้งานแล้วเสร็จ เงินทุนที่ต้องการ จำนวนและประเภทของบุคลากร และเครื่องจักรกลที่ต้องการ และระยะเวลาในการส่งวัสดุต่าง ๆ เมื่อจักทำกำหนดการก่อสร้างเสร็จแล้วก็ควรที่จะมีการศึกษาอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพื่อที่จะหากำหนดการที่ดีที่สุด และประหยัดที่สุด เช่น อาจจะเลื่อนกำหนดงานบางอย่างออกไปเพื่อที่จะรอโยกย้ายคน และเครื่องจักรกลจากโครงการอื่นมาทำงาน ก็จะทำให้ประหยัดในแง่ของการที่จะต้องจ้างคนใหม่ และซื้อเครื่องจักรใหม่ เป็นต้น
  • จากรูปตัวอย่างของการกำหนดการก่อสร้างโครงการก่อสร้างถนน ซึ่งแบ่งตามประเภทของงาน คือ งานเคลื่อนย้ายเครื่องจักร และสร้างค่ายหัวงาน งานบุกเบิก และถางแนวทาง งานสร้างที่ระบายน้ำ งานดินตัก ดินถม และงานบดอัด งานผิวจราจร งานเบ็ดเตล็ด และรื้อถอนค่ายหัวงาน งานแต่ละประเภทจะเริ่มต้นไม่พร้อมกัน เพราะบางงานจะต้องรอให้งานอื่นแล้วเสร็จก่อน แต่ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องให้แล้วเสร็จทั้งหมด ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้างในตัวอย่างนี้จะเป็นการรายงานความก้าวหน้าจริงของงานด้วย ซึ่งอาจจะทำทุกเดือนหรือ มากกว่านั้นก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสม ความจำเป็น และความก้าวหน้าของงานแต่ละประเภท ซึ่งงานที่ทำได้จริงจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของงานทั้งหมดด้วย เพื่อให้สะดวกในการประเมินผลงาน

ติดต่อทีมงาน (คลิกเลย!!)
ซื้อรถเครน รถเครนราคาถูก ขายเครน ขายเครน ขายเครน

สินค้าแนะนำ

thTH