บอร์ด รฟท.เคาะขยายสัญญาทางคู่ “มาบกะเบา-จิระ” อีก 9 เดือน เหตุติดพื้นที่ป่าสงวน เลื่อนปิดจ็อบไป ก.ย. 65
บอร์ด รฟท.เห็นชอบขยายเวลาก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 ออกไปอีก 9 เดือนไปสิ้นสุด 27 ก.ย. 65 เหตุติดพื้นที่ป่าไม้ ขณะที่ล่าสุดงานยังล่าช้า 8.8% พร้อมเคาะยืดจ่าย/ลดค่าเช่าทรัพย์สิน สัญญาต่ำกว่า 50 ล้านบาท/เดือน เยียวยาผลกระทบโควิด-19
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มี นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2564 ได้มีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ ออกไปอีก 271 วัน หรือประมาณ 9 เดือน จากเดิมสัญญาสิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค. 2564 ออกไปสิ้นสุดวันที่ 27 ก.ย. 2565
ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างบางช่วงอยู่ในเขตกรมป่าไม้ เขตป่าสงวน ในพื้นที่จังหวัดสระบุรี และจังหวัดนครราชสีมา รวมถึงรอการเวนคืนที่ดินบางส่วน ทำให้ผู้รับจ้างไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ตามแผนงาน ซึ่งเป็นการขยายเวลาก่อสร้างไม่มีการเพิ่มค่าก่อสร้างใดๆ โดยการขยายเวลาก่อสร้างเป็นไปตามหลักการเหตุผล
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทางรวม 132 กิโลเมตร วงเงินค่าก่อสร้าง 29,968.62 ล้านบาท แบ่งงานออกเป็น 4 สัญญา ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ 3 สัญญา ได้แก่ สัญญา 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร (กม.134+250-กม.198+200) ระยะทาง 58 กม. เป็นทางระดับพื้น 53 กม. และยกระดับประมาณ 5 กม. สะพานรถไฟ 20 แห่ง สะพานข้ามทางรถไฟ 1 แห่ง สะพานกลับรถรูปตัวยู 6 แห่ง ท่อลอดเหลี่ยมใต้รถไฟ 2 แห่ง สถานีรถไฟ 7 แห่ง ปรับปรุงสถานีเดิม 3 แห่ง สร้างสถานีใหม่ระดับพื้น 3 แห่ง สถานีใหม่ยกระดับ 1 แห่ง
มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 7,560 ล้านบาท สัญญาเริ่มงานวันที่ 1 ก.พ. 2561 สิ้นสุด วันที่ 31 ม.ค. 2565 โดยผลงาน ณ เดือน ก.ค. มีความก้าวหน้า 89.81% ช้ากว่าแผน 7.43% (แผนงาน 97.24%)
สัญญา 3 งานก่อสร้างอุโมงค์ เป็นการก่อสร้างอุโมงค์ 3 อุโมงค์บริเวณปูนซีเมนต์นครหลวง-บ้านหินสลับ บริเวณเขามะกอก-มวกเหล็ก และอ่างเก็บน้ำลำตะคอง-คลองไผ่ ซึ่งเป็นอุโมงค์ก่อสร้างมีระยะทางที่ยาวที่สุดประมาณ 5.8 กม. มีกิจการร่วมค้าไอทีดี-อาร์ที เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 9,290 ล้านบาท สัญญาเริ่มงานวันที่ 1 ก.ค. 2561 สิ้นสุดวันที่ 30 ธ.ค. 2564 ขยายเวลาไปสิ้นสุดวันที่ 27 ก.ย. 2565 ผลงาน ณ เดือน ก.ค.มีความก้าวหน้า 84.83% ช้ากว่าแผน 8.872% (แผนงาน 93.702%)
ส่วนสัญญา 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางจิระ (กม.199+600-กม.268+136) ระยะทาง 69 กม. อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับแบบก่อสร้าง ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมาบริเวณสะพานข้ามทางรถไฟสีมาธานี ส่งผลให้งบประมาณก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 3,000 ล้านบาท จากเดิม 7,000 กว่าล้านบาท เป็น 1 หมื่นกว่าล้านบาท
สัญญาที่ 4 งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณทั้งโครงการวงเงิน 2,445 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าอิตาเลียนไทยฯ-LSIS เป็นผู้ก่อสร้าง เริ่มงานวันที่ 24 ม.ค. 2563 สิ้นสุดวันที่ 23 ต.ค. 2566
@ยืดจ่าย/ลดค่าเช่าทรัพย์สิน สัญญาต่ำกว่า 50 ล้านบาท/เดือน เยียวยาผลกระทบโควิด-19
นายนิรุฒกล่าวว่า นอกจากนี้ บอร์ด รฟท.ยังอนุมัติให้ความช่วยเหลือ/เยียวยา/ผู้เช่าหรือผู้ใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินของ รฟท.ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับสัญญาเช่าที่มีค่าเช่าไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี ส่วนสัญญาเช่าที่เกิน 50 ล้านบาทต่อปี หรือการให้หน่วยงานรัฐเช่า ทรัพย์สิน การเยียวยาจะให้เสนอและพิจารณาเป็นรายกรณี ทั้งนี้ การช่วยเหลือ เยียวยานั้นจะต้องได้รับผลกระทบจากประกาศ
โดยหลักการช่วยเหลือ/เยียวยา ได้แก่ 1. กรณีเป็นผู้เช่ารายใหม่ที่ได้รับสิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2564-31 ธ.ค. 2564 หากยังไม่มาลงนามสัญญา ให้ขยายระยะเวลาลงนามสัญญาออกไป แต่ไม่เกิน 6 เดือน, ขยายระยะเวลาวางหลักประกันสัญญา, ผ่อนชำระค่าธรรมเนียม เป็นต้น 2. กรณีต่อสัญญาเช่า หรือสัญญาเช่าอยู่ระหว่างดำเนินการ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมต่อสัญญา, ปรับลดค่าเช่า 50% เป็นเวลา 6 เดือน เป็นต้น 3. กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ สามารถขอยกเลิกสัญญาได้ เป็นต้น
“ในการช่วยเหลือ เยียวยาจะต้องพิจารณา และพิสูจน์ว่าเป็นผู้เช่าที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หรือได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐที่ประกาศ อยู่ในพื้นที่ประกาศ เป็นต้น ไม่ใช่จะได้ช่วยเหลือ เยียวยา หมุดทุกราย ซึ่งสัญญาเช่าที่ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อเดือนมีเป็นพันราย กระจายอยู่ทั่วประเทศ โดยบอร์ดเห็นชอบในหลักการการช่วยเหลือเยียวยา โดยหลังจากนี้ให้ฝ่ายกฎหมาย รฟท.พิจารณากระบวนการทางกฎหมายก่อนการปฏิบัติ ว่าการช่วยเหลือเยียวยาดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ตามระเบียบ ข้อกฎหมาย และ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง พ.ศ. 2561 ซึ่งมีมาตราที่เกี่ยวข้องกับที่หน่วยงานลดการหารายได้” นายนิรุฒกล่าว
สำหรับลูกค้าท่านใดที่ต้องการเครื่องจักรกล ใช้สำหรับการก่อสร้าง อุตสาหกรรมหรือการเกษตร บริษัท บางกอกอ๊อคชั่นเนียร์ส จำกัด เราเป็นศูนย์รวมจัดจำหน่ายและประมูลCrane, Wheel Loaders, Excavator, Roller, Asphalt Finisher, Bulldozer, Forklifts, Farm Tractors, Miscellaneous, Platform crane (HORYONG) และสินค้าอื่นๆ อีกมากมาย เรามีเครื่องจักรเข้าใหม่นำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นทุกวัน อัดแน่นมากกว่าเดิม เราคัดสรรเครื่องจักรคุณภาพดี แข็งแรง ทนทาน พร้อมใช้งาน ราคาถูก คุ้มค่า (เลือกชมเครื่องจักรคุณภาพได้ที่ บริษัทจำหน่ายเครื่องจักร ถ.บางนา – ตราด ก.ม.18) เราเป็นผู้นำด้านการขายและประมูลเครื่องจักรนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ลูกค้าสามารถเลือกชมสินค้าเครื่องจักรได้ที่บริษัทหรือจากทางหน้าเว็บ